TH EN

การติดเชื้อบนผิวหนัง

การติดเชื้อบนผิวหนัง

ในช่วงอากาศร้อนและชื้น ต้องระวังโรคแผลพุพอง (Impetigo หรือ pyoderma) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังบริเวณหนังกำพร้า โดยสังเกตอาการง่ายๆ คือ จะมีผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นหนองอย่างรวดเร็ว หรืออาจะมีอาการตุ่มแตกออกเป็นสะเก็ด มีน้ำเหลือง โดยมากจะพบบริเวณใบหน้า ลำตัว และ แขนขา

ซึ่งผิวหนังปกติมีเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดอาศัยอยู่ เชื้อแบคทีเรียยังสามารถเพิ่มจำนวนขึ้นโดยเฉพาะในภาวะที่มีอากาศร้อนชื้น คนที่มีสุขอนามัยไม่ดี และยังสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อของผิวหนัง

(ที่มา : นายแพทย์โกวิทย์  คัมภีระภาค, โรงแผลพุพอง. สืบค้นจาก http://www.inderm.go.th/inderm_sai/skin/skin112.html)

โรคแผลพุพอง ( impetigo) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังซึ่งพบบ่อยในเด็ก และยังพบเป็นการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ในโรคผิวหนังอื่นๆ

สาเหตุ :  เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus (S. aureus) และ/หรือ Streptococcus group A

อาการและอาการแสดง :  มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำหรือตุ่มหนองขนาดเล็กแตกง่าย กลายเป็นรอยโรคตื้นๆ คลุมด้วยสะเก็ดสีเหลืองทอง มักพบตามใบหน้าในเด็ก ถ้าไม่รักษา ผื่นสามารถกระจายไปทั่วตัวภายในไม่กี่วัน

การติดต่อ : การใช้มือแคะเกาตุ่มผื่น จะทำให้เชื้อโรคติดไปกับมือและแพร่กระจายไปได้

การรักษา : การรักษาสามารถทำได้โดยการทานยาปฏิชีวนะ และ ทายาปฏิชีวนะ ประมาณ 7-10 วัน สำหรับบริเวณที่มีน้ำเหลืองหรือสะเก็ด ให้ใช้น้ำเกลือ ประคบแผลครั้งละ 10 นาที เช้า -เย็น รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเล่นคลุกคลีหรือใช้ของร่วมกับคนอื่นๆ เนื่องจากเชื้อโรคจะอยู่ตามนิ้วมือหรือผ้าเช็ดตัว พร้อมทั้งควรตัดเล็บให้สั้น หากมีอาการคันควรรับประทานยากลุ่มแอนติฮีสตามีนร่วมด้วย

ทายาปฏิชีวนะที่แพทย์แนะนำใน การรักษาอาการติดเชื้อทีผิวหนังชั้นตื้น (Impetigo) ได้แก่

1.  Mupirocin ointment (Bacidal®)

เป็นยารักษาการติดเชื้อที่เกิดจากบาดแผลบริเวณผิวหนัง แผลพุพอง แผลเปิดโดยใช้ทาภายนอก (ยาใช้ภายนอก)

การใช้ยานี้ในระดับความเข้มข้นต่ำๆ จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียมิให้ลุกลาม แต่หากใช้ความเข้มข้นสูงๆ จะออกฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียได้โดยตรง และพบว่ายานี้มีการดูดซึมทางผิวหนังน้อยกว่า 0.3% จึงเป็นผลดีที่จะช่วยลดผลข้างเคียงจากยานี้

ทั้งนี้ตัวยา Mupirocin เป็นยาปฎิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวก (Staphylococcus aureus , Streptococcus pyogenes ) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณผิวหนังทั่วไป และแกรมลบ ( Pseudomonas aeruginosa) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่พบได้บ่อยในโรงพยาบาล ดังนั้นแพทย์ทั่วไปมักจ่ายยา Mupirocin ในการป้องกันการติดเชื้อจากแผลผ่าตัดอีกด้วย  

(ที่มา : GlaxoSmithKline Inc., Bactroban® (mupirocin) Product Monograph , (2001.07.05)

ตัวยามิวไพโรซิน จะผลิตออกมาในรูปแบบ Ointment ซึ่งเมื่อทาแล้วเกาะติดผิวได้ดีแม้จะทาไว้ระยะหนึ่ง ทำให้ยาสามารถออกฤทธิ์ได้ดีและนานกว่ายาในรูปแบบยาครีม องค์การอนามัยโลกจัดให้มิวพิโรซินเป็นยาจำเป็นขั้นพื้นฐานในระดับชุมชน คณะกรรมการอาหารและยาของไทยก็ได้บรรจุยามิวพิโรซินลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ

(ที่มา : http://haamor.com/th/mupirocin)

2.  Fusidic acid

เป็นยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียได้เฉพาะเชื้อแกรมบวก (Staphylococcus aureus , Streptococcus pyogenes )  ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อทางผิวหนัง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ฟูซิดิก แอซิด จะผลิตออกมาในรูปแบบยาครีมซึ่งยาจะไม่สามารถเกาะผิวได้ดีเท่าที่ควร หรือมักผสมร่วมกับ สเตียรอยด์ ทั้งนี้หากใช้ยาติดต่อกันเวลานานต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ (ที่มา : LEO Pharma Inc., Fucidin® (fucidic acid/sodium fusidate) Product Monograph ,version 1.01 (2008.08.06))

(ที่มา : แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ ในภาวะอุทกภัยสำาหรับบุคลากรทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับ 1 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2554)

 การป้องกัน :

 
  • โรคนี้ลุกลาม ติดต่อกันได้ง่าย ต้องรักษาทุกคนในครอบครัวที่มีอาการ
  • ต้องรักษาสุขอนามัยส่วนตัว เช่น ตัดเล็บให้สั้น หมั่นรักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และอุปกรณ์เครื่องนอน ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อบางที่ไม่คับเกินไป

Share this post :

widget

map : 0


phone : 0


facebook : 0


youtube : 0


messenger : 0


instagram : 0


twitter : 0


line : 0